Sunday, April 29, 2012


เล่าเรื่องป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดเมืองเลย
ข้อมูลเบื้องต้น
จังหวัดเลย ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพฯ 520  กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ 7.1 ล้านไร่


                   ทิศเหนือ         ติดต่อกับ แขวงไชยะบูลี และแขวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
                   ทิศใต้             ติดต่อกับ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และอำเภอหล่มเก่า และอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
                   ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอสุวรรณคูหาจังหวัดอุดรธานี และอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก


แบ่งเขตการปกครองเป็น 14 อำเภอ  เป็นอำเภอตอนใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเลย วังสะพุง นาด้วง หนองหิน เอราวัณ ภูหลวง ภูกระดึง และผาขาว อำเภอชายแดนจำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแห้ว  ด่านซ้าย ภูเรือ ท่าลี่  เชียงคาน  ปากชม โดยมีแม่น้ำเหือง เป็นเส้นกั้นพรมแดน ประมาณ 123 กิโลเมตร และแม่น้ำโขงประมาณ  71  กิโลเมตร  มีจุดผ่านแดนถาวร  3 แห่ง ได้แก่ 1. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว บ้านนากระเซ็ง ต.อาฮี อ.ท่าลี่   2. จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงคาน อำเภอเชียงคาน  และ 3. จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อำเภอปากชม จุดผ่อนปรน 3 แห่ง ได้แก่ 1. บ้านเหมืองแพร่ ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว 2. บ้านนาข่า ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย  3. บ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่
สถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดเลย
สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดเลย  โดยทั่วไป  ยังคงมีปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับเบาบางที่สามารถควบคุมได้  แต่เนื่องจากจังหวัดเลยเป็นจังหวัดชายแดน  จึงถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งจากข้อมูลข่าวสารยังปรากฏว่าในประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตรงข้ามจังหวัดเลย  ยังคงมีพื้นที่พักยาเสพติดที่สำคัญเพื่อรอการนำเข้าพื้นที่  ยาเสพติดที่ยังคงมีปัญหาได้แก่  ยาบ้า  สารระเหย  และกัญชา

สำหรับปัญหาการค้า ยังคงเป็นการค้ารายย่อยในพื้นที่ กลุ่มผู้ค้าจะเป็นกลุ่มเดิม หลายคนกลับมาค้ายาเสพติดอีก มีการลำเลียงยาเสพติดมาซุกซ่อนไว้ในหมู่บ้านตามแนวชายแดนเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับผู้ค้าผู้เสพในพื้นที่ บางส่วนส่งขายให้กับคนไทยในพื้นที่ใกล้เคียง บางส่วนส่งขายให้กับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านที่ไปทำงานใน กทม. และต่างจังหวัด ตามแนวชายแดนจังหวัดเลย ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดยาเสพติดในกลุ่ม ผู้ว่างงาน เกษตรกร และกลุ่มเยาวชนมากขึ้น
สำหรับนักค้ารายใหญ่ รายสำคัญ ไม่มีการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้ารายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดกลุ่มเดิมที่กลับมาใหม่ หรือบางครั้งเปลี่ยนพื้นที่ลักลอบนำเข้า ซึ่งกลุ่มดังกล่าว มีเครือข่ายตลอดแนวชายแดนไทย ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับวิธีการลักลอบและการค้ายังทำเช่นเดิม
สถานการณ์ภายนอกประเทศ
ปรากฏข่าวสารการเคลื่อนไหวยาเสพติดยังมีการติดต่อ-ซื้อ-ขาย ระหว่างผู้ค้า สปป.ลาว กับผู้ค้าฝั่งไทย ตามแนวชายแดน ซึ่งพฤติกรรมของผู้ค้ายังพยายามจะลักลอบนำเข้ายาเสพติด ตามช่องทางท่าข้ามประเพณี และช่องทางธรรมชาติที่เกื้อกูล  เพื่อนำส่งให้กับลูกค้าตามแนวชายแดนและพื้นที่ตอนใน โดยผู้ค้ารายใหญ่ฝั่ง สปป.ลาว จะลำเลียงยาเสพติดจำนวนมาก จากนครหลวงเวียงจันทน์ ส่งให้กับผู้ค้าตามเมืองต่างๆบริเวณชายแดน และนำเข้าพักตามหมู่บ้านชายแดนเพื่อจำหน่าย  แหล่งพักยาเสพติดบริเวณชายแดนฝั่ง สปป.ลาว ดังนี้
   

แขวง
เมือง
หมู่บ้าน
ไชยะบูลี
บ่อแตน

แก่นท้าว

บ.นาข่า,บ.เหมืองแพร่,บ.พวน,
บ.ใหม่ห้วยอีฮุม
บ.แก่นท้าว,บ.ใหม่วังโพน บ.ดอนตาปู่ 
บ.นาแก่งม้า บ.นาหิน บ.เมืองหมอ,
บ.บุ่งคล้า บ.ใหม่เวินดำ บ.หาดแดง และ 
บ.ใหม่ปากแคม
เวียงจันทน์
ชะนะคาม

หมื่น
บ.ผาลาด,บ.ปากพาง,บ.บุ่ง,บ.ปากมี่,
บ.น้ำฮี้,บ.ก้อนคำ
บ.คกเหมือด,บ.น้ำจัน,บ.ดอนเฮียง
นครหลวงเวียงจันทน์
สังทอง
บ.ห้วยหาง,บ.ห้วยหล้า
สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติด
พื้นที่นำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนพื้นที่หลัก  ได้แก่ อำเภอท่าลี่ และอำเภอเชียงคาน
พื้นที่นำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนพื้นที่รอง  ได้แก่  อำเภอด่านซ้าย , นาแห้ว ,ภูเรือ และ อำเภอปากชม
สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่
พื้นที่เฝ้าระวังด้านการค้ายาเสพติด ได้แก่ อำเภอเมืองเลย,เชียงคาน,ท่าลี่,ด่านซ้าย,ปากชม และอำเภอเอราวัณ
พื้นที่เฝ้าระวังด้านการแพร่ระบาด ได้แก่ อำเภอเมืองเลย ,วังสะพุง, ท่าลี่  
ชนิดยาเสพติดที่พบแพร่ระบาดในพื้นที่
ชนิดยาเสพติดที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ ยาบ้า สารระเหย และกัญชา
ผู้ค้ายาเสพติด ไม่พบรายสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้ารายย่อย
ผู้เสพ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเยาวชนทั้งใน/นอกสถานศึกษา และผู้ใช้แรงงาน

รูปแบบการค้าในพื้นที่ชายแดน
1. โทรศัพท์ติดต่อซื้อ/ขายกันโดยตรง การติดต่อซื้อขายกันทางโทรศัพท์และจ่ายเงินโดยการโอนเข้าบัญชีของผู้ขายจากประเทศเพื่อนบ้าน (สามารถเปิดบัญชีธนาคารไทยได้) ด้วยระบบเอทีเอ็ม หรือเป็นเงินสด
2. ติดต่อผ่านกลุ่มนายหน้าในพื้นที่ชายแดน แบบเจรจาตามสถานที่เหมาะสม เช่น ห้างร้าน ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท บ้านเช่า สถานีขนส่งโดยสารสถานที่สำคัญ ในปัจจุบันที่กลุ่มนักค้าชอบใช้เป็นจุดนัดพบเพื่อเจรจากันคือ ตามบริเวณท่าทราย เก่า-ใหม่ ตามริมแม่น้ำโขง ซึ่งง่ายแก่การส่งมอบ และการลำเลี่ยงขนย้ายยาเสพติด
 3. ข้ามไปซื้อเอง
กลุ่มนักค้าที่มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติด
1.กลุ่มเครือญาติ ส่วนมากเป็นบุคคลสองสัญชาติ ซึ่งยากแก่การติดตามข่าวสาร ซึ่งญาติฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน จะนำมาส่งเองโดยไม่ต้องติดต่อกันบ่อยครั้ง
2.กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ จะเป็นกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน และมีธุรกิจร่วมกัน คือกลุ่มเต็นท์ รถยนต์เก่า (ซื้อขายรถยนต์มือสอง) ซึ่งได้รับประโยชน์มากในลักษณะเป็นการฟอกเงินไปในตัว ซึ่งยากแก่การติดตามข่าวสาร เพราะกลุ่มนี้จะใช้เงินสดในการติดต่อซื้อขายกัน
 
การปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน
1) คัดเลือกและฝึกอบรมชุดปฏิบัติการ/วิทยากรกระบวนการระดับอำเภอ  โดยมีศูนย์ประสาน
2) การจัดสถานที่จัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (1 อำเภอ 1 ค่าย)
3) การเตรียมทีม/อบรม วิทยากรค่ายบำบัด
4) การเตรียมทีม/ระบบการติดตาม ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด
5) การจัดชุดวิทยากรป้องกัน (ครู/พระ/ตำรวจ DARE  ฯลฯ )
6) การจัดชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด และแนวทางขยายผลจากผู้เสพ/ผู้ติดที่เข้ารับการบำบัด ผู้ค้าที่ถูกจับกุม
7)  การเตรียมระบบรายงาน
การปฏิบัติการ  6  เร่ง    (เดือน กันยายน – ธันวาคม 2554)
1) เร่งหาข้อมูลผู้ค้า ผู้เสพ กลุ่มเสี่ยง/พื้นที่เสี่ยง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการ
2) เร่งจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพอย่างน้อยร้อยละ 30 ของ จำนวนอำเภอ (4 อำเภอ) อำเภอละ 1 รุ่น (30-50 คน)
3) เร่ง กวดขันพื้นที่เสี่ยง จัดระเบียบสังคม/กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษา สถานบริการ และสถานประกอบการคล้ายสถานบริการ ร้านเหล้าปั่น หอพัก ร้านอินเตอร์เน็ท อย่างเข้มงวด และการแข่งรถซิ่ง/มั่วสุม
4) ดำเนินการด้านทรัพย์สินกับผู้ค้า 3-5 คดี   (มาตรการบังคับใช้กฎหมาย)
5) หน่วยกำลังตามแนวชายแดน ต้องปฏิบัติการเฝ้าตรวจอย่างเข้มข้น และมีผลการปฏิบัติที่ชัดเจน
6) พิสูจน์ทราบสถานะปัญหายาเสพติดให้เป็นปัจจุบัน ก่อนวางแผนแก้ไขปัญหา
7) เร่งปฏิบัติการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เพื่อจูงใจให้ผู้เสพเข้าบำบัดโดยสมัครใจ








Wednesday, January 12, 2011

แผนการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในปี ๒๕๕๔


๑. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
จากการทบทวนข้อมูลพื้นฐาน ผลการดำเนินงานเพื่อกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนด วิสัยทัศน์ ว่า เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สถานบริการได้มาตรฐาน ประชาชนมีสุขภาวะโดยมีพันธกิจ วัตถุประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
๑.๑  พันธกิจ
(๑)    จัดทำยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
(๒)    ดำเนินการและประสานงานในการพัฒนาสุขภาพ
(๓)    กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสุนนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข 
(๔)    จัดบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(๕)    สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสุขภาพ
๑.๒  วัตถุประสงค์
(๑)    เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผลประสิทธิภาพและโปร่งใสเป็นธรรม
(๒)    เพื่อพัฒนาสถานบริการให้ได้มาตรฐาน
(๓)    เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวเข้าถึงบริการสุขภาพ
(๔)    เพื่อสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการสุขภาพ
๒.  ประเด็นยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดงานสุขภาพจิต
งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดตัวชี้วัดอย่างสอดคล้องตามภารกิจกับวัตถุประสงค์และประเด็นยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
๒.๑  ยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากรสู่สมรรถนะหลักสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรม ตัวชี้วัดได้แก่ ร้อยละ ๘๐ ของบุคลากรผ่านเกณฑ์สมรรถนะระดับดี  
(๑)    ยุทธศาสตร์พัฒนาสถานบริการสุขภาพให้เอื้อต่อผู้ใช้บริการ ตัวชี้วัดได้แก่ สถานพยาบาลได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HA ยาเสพติด โดย  รพท. ได้มาตรฐาน  รพช. ได้มาตรฐาน ๘  ใน ๑๐ แห่ง
(๒)    ยุทธศาสตร์สร้างเสริมสนับสนุนจัดการความรู้ เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองและครอบครัว ตัวชี้วัดคือ อัตราอุบัติการณ์การป่วยและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ มุ่งเน้น สุขภาพจิตชุมชน โดน ร้อยละ ๙๕ (ปี ๒๕๕๖) ของการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของประชาชน 
๑)      ปชช.อายุ ๑๕-๖๐ปี มีสุขภาพจิตดี
๒)      ประชาชนมีการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม
๓)      อัตราการเข้าถึงบริการภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕  
(๓)  ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ  การคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวชี้วัดคือ
๑)   การค้นหาคัดกรองภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
๒)   ผู้พยายามฆ่าตัวตายได้รับการดูแลไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
(๔)    ยุทธศาสตร์จัดตั้งและส่งเสริมเครือข่ายการจัดการสุขภาพ ตัวชี้วัดได้แก่ ร้อยละ ๘๐ ของเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
๓.  แผนงานโครงการ
งานสุขภาพจิตได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ดังกล่าว โดยบูรณาการงบประมาณจากแหล่งงบประมาณต่างๆ ทั้งจากงบ PP Area base งบ Non UC งบกองทุน สปสช. ตลอดจนงบหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปเบื้องต้นได้ ดังนี้
๓.๑  งบ PP Area base
โครงการของงานสุขภาพจิต  จำนวน ๒๔ โครงการ งบประมาณรวม ๑,๖๖๑,๖๐๐ บาท ประกอบด้วย
(๑)   โครงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณรวม ๙๕๖,๐๐๐ บาท
(๒)   โครงการของ คปสอ. ต่างๆ จำนวน ๑๙ โครงการ งบประมาณรวม ๗๐๕,๖๐๐ บาท
๓.๒  งบ Non UC
โครงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๓ โครงการ งบประมาณรวม ๗๑๘,๓๒๐ บาท
๓.๓  งบกองทุน สปสช.
โตรงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๑ โครงการ งบประมาณ ๒๗๕,๐๐๐ บาท
ตารางโครงการด้านสุขภาพจิตและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์      ปี ๒๕๕๓
ลำดับ
โครงการ
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ
งบ PP Area Based (สสจ.) จำนวน ๖ โครงการ
๙๕๖,๐๐๐
งานสุขภาพจิต
,๖๖๑,๖๐๐
โครงการจัดการความรู้พัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต/ยาเสพติด
๑๕๖,๐๐๐
งานสุขภาพจิต
๙๕๖,๐๐๐
โครงการพัฒนาศักยภาพสถานบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ  TO BE NUMBER ONE "มุ่งสู่ความเป็นเลิศ "
๘๐๐,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

โครงการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ "สนับสนุนคนทำดีศรีสังคม"
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ "คนเพชรบูรณ์ชีวิตงามงด ลดภาวะซึมเศร้า ดูแลใกล้ตาใกล้ใจ ไม่ฆ่าตัวตาย สุขภาพจิตดี ชีวีเป็นสุข"
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
งบ NON UC (สสจ.)  จำนวน ๓ โครงการ
๗๑๘,๓๒๐


โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์พึ่งได้ในชุมชน
๒๘,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

โครงการพัฒนาศักยภาพบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด(บำบัด ๕๗๗,๙๒๐ บาท และจัดการข้อมูล ๓๒,๔๐๐ บาท)
๖๑๐,๓๒๐
งานสุขภาพจิต


โครงการพัฒนาการจัดกิจกรรมเครือข่ายTO BE NUMBER ONE
๘๐,๐๐๐
งานสุขภาพจิต







งบ งบกองทุน สปสช. (สสจ.)  จำนวน ๑ โครงการ
๒๗๕,๐๐๐


โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะ   ซึมเศร้าและฆ่าตัวตายจังหวัดเพชรบูรณ์
๒๗๕,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

งบ PP Area Based (CUP) จำนวน ๑๙ โครงการ
๗๐๕,๖๐๐
คปสอ.

โครงการ "ดูแลใกล้ตาใกล้ใจไม่ฆ่าตัวตาย"
๒๒,๙๐๐
คปสอ.หล่มเก่า
๖๘,๔๐๐
โครงการ "สบายจิตชีวิตเป็นสุข"
๔๕,๕๐๐
คปสอ.หล่มเก่า
โครงการชุมชนสุขภาพจิตดีชีวีมีสุข
๒๐,๐๐๐
คปสอ.หล่มสัก
๒๐,๐๐๐
โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการTO BE NUMBER ONE
๑๕,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
๘๑,๐๐๐


โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามหลังการบำบัดยาเสพติด
๕๓,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
โครงการชีวิตงามงด ลดภาวะซึมเศร้า เฝ้าระวังปัญหา    ฆ่าตัวตาย
๑๓,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
โครงการพัฒนามาตรฐานงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบบริการสาธารณสุข
,๐๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๕๕,๐๐๐
โครงการพัฒนาศักยภาพญาติหรือผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
๒๑,๒๐๐
คปสอ.วังโป่ง
โครงการพัฒนามาตรฐานงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบบริการสาธารณสุข
,๐๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๐
โครงการพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
๑๓,๒๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๑
โครงการ "สุขภาพจิตดี ชีวิตเป็นสุข"
๑๐,๖๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๒
โครงการประกวดชมรม TO BE NUMBER ONE
๘๕,๐๐๐
คปสอ.วิเชียรบุรี
๘๕,๐๐๐
๑๓
โครงการสนับสนุนคนทำดีศรีสังคม
,๐๐๐
คปสอ.น้ำหนาว
,๐๐๐
๑๔
โครงการดูแลใกล้ตาใกล้ใจไม่ฆ่าตัวตาย เพื่อชีวิตที่งดงามลดภาวะซึมเศร้า
,๐๐๐
คปสอ.น้ำหนาว
๑๕
โครงการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและ     ฆ่าตัวตาย
๒๒๗,๗๐๐
คปสอ.เมืองเพชรบูรณ์
๒๒๗,๗๐๐
๑๖
โครงการล้อมรัก ด้วยใจสายใยครอบครัว
๒๑,๕๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๐๔,๕๐๐
๑๗
โครงการชุมชนร่วมใจห่วงใย ดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า
๖๔,๐๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๘
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการจากโรคเรื้อรัง
๑๙,๐๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๙
โครงการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ทางด่วนสุขภาพจิตดี เริ่มที่ครอบครัว
๕๗,๐๐๐
คปสอ.เขาค้อ
๕๗,๐๐๐
จำนวน ๒๙ โครงการ
,๖๕๔,๙๒๐