Wednesday, January 12, 2011

แผนการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในปี ๒๕๕๔


๑. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
จากการทบทวนข้อมูลพื้นฐาน ผลการดำเนินงานเพื่อกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนด วิสัยทัศน์ ว่า เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สถานบริการได้มาตรฐาน ประชาชนมีสุขภาวะโดยมีพันธกิจ วัตถุประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
๑.๑  พันธกิจ
(๑)    จัดทำยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
(๒)    ดำเนินการและประสานงานในการพัฒนาสุขภาพ
(๓)    กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสุนนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข 
(๔)    จัดบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(๕)    สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสุขภาพ
๑.๒  วัตถุประสงค์
(๑)    เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผลประสิทธิภาพและโปร่งใสเป็นธรรม
(๒)    เพื่อพัฒนาสถานบริการให้ได้มาตรฐาน
(๓)    เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวเข้าถึงบริการสุขภาพ
(๔)    เพื่อสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการสุขภาพ
๒.  ประเด็นยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดงานสุขภาพจิต
งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดตัวชี้วัดอย่างสอดคล้องตามภารกิจกับวัตถุประสงค์และประเด็นยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
๒.๑  ยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากรสู่สมรรถนะหลักสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรม ตัวชี้วัดได้แก่ ร้อยละ ๘๐ ของบุคลากรผ่านเกณฑ์สมรรถนะระดับดี  
(๑)    ยุทธศาสตร์พัฒนาสถานบริการสุขภาพให้เอื้อต่อผู้ใช้บริการ ตัวชี้วัดได้แก่ สถานพยาบาลได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HA ยาเสพติด โดย  รพท. ได้มาตรฐาน  รพช. ได้มาตรฐาน ๘  ใน ๑๐ แห่ง
(๒)    ยุทธศาสตร์สร้างเสริมสนับสนุนจัดการความรู้ เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองและครอบครัว ตัวชี้วัดคือ อัตราอุบัติการณ์การป่วยและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ มุ่งเน้น สุขภาพจิตชุมชน โดน ร้อยละ ๙๕ (ปี ๒๕๕๖) ของการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของประชาชน 
๑)      ปชช.อายุ ๑๕-๖๐ปี มีสุขภาพจิตดี
๒)      ประชาชนมีการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม
๓)      อัตราการเข้าถึงบริการภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕  
(๓)  ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ  การคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวชี้วัดคือ
๑)   การค้นหาคัดกรองภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
๒)   ผู้พยายามฆ่าตัวตายได้รับการดูแลไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
(๔)    ยุทธศาสตร์จัดตั้งและส่งเสริมเครือข่ายการจัดการสุขภาพ ตัวชี้วัดได้แก่ ร้อยละ ๘๐ ของเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
๓.  แผนงานโครงการ
งานสุขภาพจิตได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ดังกล่าว โดยบูรณาการงบประมาณจากแหล่งงบประมาณต่างๆ ทั้งจากงบ PP Area base งบ Non UC งบกองทุน สปสช. ตลอดจนงบหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปเบื้องต้นได้ ดังนี้
๓.๑  งบ PP Area base
โครงการของงานสุขภาพจิต  จำนวน ๒๔ โครงการ งบประมาณรวม ๑,๖๖๑,๖๐๐ บาท ประกอบด้วย
(๑)   โครงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณรวม ๙๕๖,๐๐๐ บาท
(๒)   โครงการของ คปสอ. ต่างๆ จำนวน ๑๙ โครงการ งบประมาณรวม ๗๐๕,๖๐๐ บาท
๓.๒  งบ Non UC
โครงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๓ โครงการ งบประมาณรวม ๗๑๘,๓๒๐ บาท
๓.๓  งบกองทุน สปสช.
โตรงการของงานสุขภาพจิต จำนวน ๑ โครงการ งบประมาณ ๒๗๕,๐๐๐ บาท
ตารางโครงการด้านสุขภาพจิตและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์      ปี ๒๕๕๓
ลำดับ
โครงการ
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ
งบ PP Area Based (สสจ.) จำนวน ๖ โครงการ
๙๕๖,๐๐๐
งานสุขภาพจิต
,๖๖๑,๖๐๐
โครงการจัดการความรู้พัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต/ยาเสพติด
๑๕๖,๐๐๐
งานสุขภาพจิต
๙๕๖,๐๐๐
โครงการพัฒนาศักยภาพสถานบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ  TO BE NUMBER ONE "มุ่งสู่ความเป็นเลิศ "
๘๐๐,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

โครงการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ "สนับสนุนคนทำดีศรีสังคม"
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
โครงการ "คนเพชรบูรณ์ชีวิตงามงด ลดภาวะซึมเศร้า ดูแลใกล้ตาใกล้ใจ ไม่ฆ่าตัวตาย สุขภาพจิตดี ชีวีเป็นสุข"
บูรณาการงบประมาณบริหารจัดการของ
สสจ.เพชรบูรณ์
งบ NON UC (สสจ.)  จำนวน ๓ โครงการ
๗๑๘,๓๒๐


โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์พึ่งได้ในชุมชน
๒๘,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

โครงการพัฒนาศักยภาพบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด(บำบัด ๕๗๗,๙๒๐ บาท และจัดการข้อมูล ๓๒,๔๐๐ บาท)
๖๑๐,๓๒๐
งานสุขภาพจิต


โครงการพัฒนาการจัดกิจกรรมเครือข่ายTO BE NUMBER ONE
๘๐,๐๐๐
งานสุขภาพจิต







งบ งบกองทุน สปสช. (สสจ.)  จำนวน ๑ โครงการ
๒๗๕,๐๐๐


โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะ   ซึมเศร้าและฆ่าตัวตายจังหวัดเพชรบูรณ์
๒๗๕,๐๐๐
งานสุขภาพจิต

งบ PP Area Based (CUP) จำนวน ๑๙ โครงการ
๗๐๕,๖๐๐
คปสอ.

โครงการ "ดูแลใกล้ตาใกล้ใจไม่ฆ่าตัวตาย"
๒๒,๙๐๐
คปสอ.หล่มเก่า
๖๘,๔๐๐
โครงการ "สบายจิตชีวิตเป็นสุข"
๔๕,๕๐๐
คปสอ.หล่มเก่า
โครงการชุมชนสุขภาพจิตดีชีวีมีสุข
๒๐,๐๐๐
คปสอ.หล่มสัก
๒๐,๐๐๐
โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการTO BE NUMBER ONE
๑๕,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
๘๑,๐๐๐


โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามหลังการบำบัดยาเสพติด
๕๓,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
โครงการชีวิตงามงด ลดภาวะซึมเศร้า เฝ้าระวังปัญหา    ฆ่าตัวตาย
๑๓,๐๐๐
คปสอ.ชนแดน
โครงการพัฒนามาตรฐานงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบบริการสาธารณสุข
,๐๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๕๕,๐๐๐
โครงการพัฒนาศักยภาพญาติหรือผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
๒๑,๒๐๐
คปสอ.วังโป่ง
โครงการพัฒนามาตรฐานงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบบริการสาธารณสุข
,๐๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๐
โครงการพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
๑๓,๒๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๑
โครงการ "สุขภาพจิตดี ชีวิตเป็นสุข"
๑๐,๖๐๐
คปสอ.วังโป่ง
๑๒
โครงการประกวดชมรม TO BE NUMBER ONE
๘๕,๐๐๐
คปสอ.วิเชียรบุรี
๘๕,๐๐๐
๑๓
โครงการสนับสนุนคนทำดีศรีสังคม
,๐๐๐
คปสอ.น้ำหนาว
,๐๐๐
๑๔
โครงการดูแลใกล้ตาใกล้ใจไม่ฆ่าตัวตาย เพื่อชีวิตที่งดงามลดภาวะซึมเศร้า
,๐๐๐
คปสอ.น้ำหนาว
๑๕
โครงการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและ     ฆ่าตัวตาย
๒๒๗,๗๐๐
คปสอ.เมืองเพชรบูรณ์
๒๒๗,๗๐๐
๑๖
โครงการล้อมรัก ด้วยใจสายใยครอบครัว
๒๑,๕๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๐๔,๕๐๐
๑๗
โครงการชุมชนร่วมใจห่วงใย ดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า
๖๔,๐๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๘
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการจากโรคเรื้อรัง
๑๙,๐๐๐
คปสอ.หนองไผ่
๑๙
โครงการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ทางด่วนสุขภาพจิตดี เริ่มที่ครอบครัว
๕๗,๐๐๐
คปสอ.เขาค้อ
๕๗,๐๐๐
จำนวน ๒๙ โครงการ
,๖๕๔,๙๒๐

งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์


งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ รับผิดชอบงานในด้านต่างๆ ดังนี้
(๑)     งานสุขภาพจิต
(๒)     งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(๓)     งานส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ
ในรอบปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคีเครือข่ายได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์อย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ตลอดจนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กำหนดว่าภายในปี ๒๕๕๖ (ระยะ ๔ ปี) จะสามารถผลักดันให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการดูแลเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านงานสุขภาพจิตสามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ดังนี้
(๑)  อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๕  ดำเนินการได้ ร้อยละ ๓๗.๑๕
(๒) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่วินิจฉัยโดยแพทย์ได้รับการบำบัดรักษาดูแลช่วยเหลือกว่าร้อยละ ๘๐ ดำเนินการได้ ร้อยละ ๑๐๐
(๓) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดดูแลช่วยเหลือตามแนวทางที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ หายหรือทุเลาดำเนินการได้ ร้อยละ ๑๐๐
(๔) อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง
 ด้านงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บำบัดผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ จำนวน เป้าหมายที่กำหนดไว้ ๑๔๐ คน ดำเนินการได้ ๑๘๓ คน มากกว่าเป้าหมาย ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓๐.๗๑ และการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดทุกตัว ดังนี้
(๑) ประชากรทั้งหมด ๙๙๖,๓๒๑ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๗๕๙,๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๑ มากกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดให้ประชากร ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE
(๒) จำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐๒๔ ปี ทั้งหมด ๒๔๐,๗๗๖ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE และเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๓๔,๖๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๔ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ จำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐๒๔ปี เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE และเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว้าร้อยละ ๙๐
(๓) ทุกอำเภอมีชมรม  TO BE NUMBER ONE และมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นครบทุกอำเภอ ตามเป้าหมายตัวชี้วัด
(๔) ขมรม/จังหวัด ได้ร่วมการประกวดระดับภาค/ประเทศ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศจังหวัด      TO BE NUMBER ONE ระดับภาค และได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดแข่งขันระดับประเทศ บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่ต้องเข้าร่วมการประกวดและได้รับรางวัลใดๆ ในการประกวดแข่งขันระดับภาค/ประเทศ
สำหรับงานการส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ ได้บูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการที่บ้าน และได้รับสิทธิในการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิ (ท.๗๔) ร้อยละ ๘๑.๑๘ มากกว่าเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ ร้อยละ ๗๐ 

ผลการดำเนินงานของงานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
๑.  งานสุขภาพจิต
๑.๑  วิสัยทัศน์งานสุขภาพจิต
งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคีเครือข่ายได้จัดทำการวิเคราะห์สถานการณ์ SWOT เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม การดำเนินงานสุขภาพจิต โดยกำหนดวิสัยทัศน์
เป็นเลิศด้านวิชาการ บริหารโปร่งใส ทันสมัยเทคโนโลยี สุขภาพดีถ้วนหน้า
๑.๒  พันธกิจ
(๑)    ส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ
(๒)    ขยายพัฒนาระบบบริการบำบัดและฟื้นฟูครอบคลุมทุกกลุ่มและพื้นที่
(๓)    พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสุขภาพจิต
(๔)    พัฒนาระบบบริหารจัดหารทั้งในด้านการปรับโครงสร้างองค์กรและระบบบริการ
(๕)    พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๖)    พัฒนาบุคลากรทั้งด้านจิตสังคมและศักยภาพด้านวิชาการ
๑.๓  แผนปฏิบัติการ ปี ๒๕๕๓
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ว่าภายในปี ๒๕๕๖ (ระยะ ๔ ปี) จะสามารถผลักดันให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการดูแลเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนปฏิบัติการงานสุขภาพจิตและยาเสพติด ปี ๒๕๕๓ งบประมาณ P&P area based งบ NON UC งบกองทุนต่างๆ ของ สปสช. และงบกรมสุขภาพจิต
(๑) เป้าหมาย
๑)  ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์
๒)  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้พิการ, ผู้สูงอายุผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือหลังคลอด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุราและยาเสพติด
๓)  บุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) /โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) /โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   (รพ.สต.) / สถานีอนามัย(สอ.) / ศูนย์สุขภาพชุมชน(ศสช.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม. )
๔)  ดำเนินการใน รพท. ๑ แห่ง
๕)  รพช. ๙ แห่ง และ รพร. ๑ แห่ง
๖)  รพ.สต. / สอ./ ศสช. ๑๕๓ แห่ง
(๒) ตัวชี้วัด
๑)  อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๕
๒)  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่วินิจฉัยโดยแพทย์ได้รับการบำบัดรักษาดูแลช่วยเหลือกว่าร้อยละ ๘๐
๓) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดดูแลช่วยเหลือตามแนวทางที่กำหนดไม่น้อยกว่า  ร้อยละ ๘๐ หายหรือทุเลา
๔)  อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง
๑.๔  ผลการดำเนินงาน
(๑) การพัฒนาบุคลากร
จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร รพท. รพช. / สอ./ PCU ผู้ปฏิบัติงานในการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า Basic course Satear เป็น program ในการดูแล ผู้ป่วยจิตเวช, ซึมเศร้าเชิงลึก และอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข Advance course ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร Basic course การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้ามาแล้วจำนวน ๒๐๐ คน งบประมาณ ๘๒,๐๐๐ บาท
(๒) พัฒนาระบบสารสนเทศ
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานและกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายภายใต้ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ อบรมแผนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีอบรมการใช้โปรแกรมระบบการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน ๑๐๐ คน ใช้เงินงบประมาณ ๑๑๔,๐๐๐ บาท
(๓) พัฒนาคุณภาพระบบบริการ
จัดการอบรมแก่บุคลากรผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับ รพท. / รพช.  สอ./ PCU HA ของงานสุขภาพจิต ถ่ายทอดองค์ความรู้ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและสำหรับ รพท. / รพช.  สอ./ PCU จำนวน ๒๐๐ คน ใช้เงินงบประมาณ ๖๓,๐๐๐ บาท
(๔) บูรณาการงานสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข
ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้เครือข่ายบริการสุขภาพถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี ด้านสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข ได้แก่ ผู้นำชุมชน / เทศบาล/ อบต. และจัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานบูรณาการงานสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข ใช้เงินงบประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ บาท
(๕) บูรณาการดำเนินงานร่วมกับชุมชน
ประสานการดำเนินงานกับ อสม. ตลอดจนผู้นำและแกนนำชุมชน ในการสำรวจและคัดกรองผู้ป่วยสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ป่วยซึมเศร้า/มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย ให้บริการสุขภาพจิตเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่ผ่านการคัดกรองและประเมินระดับความรุนแรง ตลอดจนส่งต่อผู้ที่มีอาการ/มีแนวโน้มว่าจะฆ่าตัวตายให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อสั่งการ/ดำเนินการรักษา กรณีที่เป็นโรคเรื้อรังทางกายให้ได้รับการรักษาทางกายควบคู่กับการรักษาทางจิตเวชดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังด้วยเทคโนโลยี Q และแบบประเมินโรคซึมเศร้า ๙ คำถาม หรือ ๙Q
(๖) อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย
ในปี ๒๕๕๓ มีจำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า ๙Q ทั้งหมด ๒,๙๖๖ คน ได้รับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ จำนวน ๒,๕๒๙ คน เมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๒ ที่มีผู้ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์/มีการเข้าถึงบริการจำนวน ๑,๘๔๔ ตน เพิ่มขึ้น ๖๘๕ คน คิดเป็น ร้อยละ ๓๗.๑๕ และเมื่อเปรียบเทียบผลงานปี ๒๕๕๒ กับปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๕๒ มีจำนวนผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ๗๔๗ คน คิดเป็น ร้อยละ ๖๘.๐๙ จากผู้เข้าถึงบริการในปี ๒๕๕๑ ที่มีจำนวน ๑,๐๙๗ คน ซึ่งการเข้าถึงบริการในปี ๒๕๕๑ มีจำนวนผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓๒.๔๒ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนดให้อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยซึมเศร้า มากกว่าร้อยละ ๕  เมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวขี้วัดทุกปี 
(๗) อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง
จากการดำเนินงานในปี ๒๕๕๓ พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๕ ราย คิดเป็นอัตรา เท่ากับ ๓.๖๕ ต่อแสนประชากร และเมื่อเปรียบเทียบกับปี ๒๕๕๒ ที่มีจำนวน ๖๐ ราย คิดเป็นอัตรา ๕.๓๒ ต่อแสนประชากร ลดลง ๒๕ ราย อัตราลดลง  ๑.๖๗ ต่อแสนประชากร
๒.  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒.๑  ผลการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในภาพรวม
ผลการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง ๓ ระบบ ในภาพรวมของจังหวัด ประกอบด้วย ระบบสมัครใจ ซึ่งเป็นระบบหลัก ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ  รวม ๑,๑๑๒ คน  แต่เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑,๐๑๘ คน
๒.๒  ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้จำทำแผนปฏิบัติบูรณาการกับแผนปฏิบัติการการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ (ศตส.จ.พช.) ตั้งเป้าหมายบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ปี ๒๕๕๓ ระบบสมัครใจ จำนวน ๑๔๐ คน มีผลการดำเนิน งาน ๑๘๓ คน เกินกว่าเป้าหมาย ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓๐.๗๑ ในจำนวนนี้เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑๘๑ คน
ดำเนินการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด โดยกำหนดเป้าหมายไว้จำนวน ๕๙๓ คน สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง ๕๙๓ คน ผลการติดตามพบว่าสามารถหยุด เลิกการเสพได้ ทำงานอยู่กับบ้าน จำนวน ๔๗๖ คน ทำงานต่างจังหวัด จำนวน ๕๒ คน ศึกษาต่อจำนวน ๙ คน อุปสมบท จำนวน ๑ คน กลับไปเสพซ้ำ จำนวน ๒๘ คน ถูกจับกุมดำเนินคดี จำนวน ๑๑ คน
นอกจากนั้น ยังดำเนินการจัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคัดกรองผู้เสพผู้ติด หลังจากที่ อสม. ร่วมกับชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำประชาคมค้นหาผู้เสพหรือกลุ่มเสี่ยง ตามปฏิบัติการ Clean & Sill จำนวน ๕ ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น ๓๑๔ คน ดังนี้
อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี วันที่  ๑๐๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน   ๔๒  คน
อำเภอหล่มเก่าและอำเภอเขาค้อ   วันที่  ๑๗ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน   ๔๕  คน
อำเภอหล่มสัก                       วันที่  ๑๗ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน ๑๒๒ คน
อำเภอหนองไผ่และบึงสามพัน      วันที่  ๒๔ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน   ๓๙  คน
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์               วันที่  ๑๗ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน   ๖๖  คน
๒.๓  ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ TO BE NUMBER ONE
(๑) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๑  การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
๑)  บูรณาการแผนงาน โครงการ และกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมีจำนวนโครงการที่บูรณาการ ๔๐ โครงการ งบประมาณ ๔,๙๕๙,๘๒๐  บาท
๒)  ประกาศนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโครงการ TO BE NUMBER ONE
๓)  ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง
๔)  การติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ฯลฯ
(๒) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๒  รณรงค์ปลุกจิตสำนึกสร้างกระแสป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๑) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
· พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล โดยจัดทำโปรแกรมบันทึกข้อมูลชมรม TO BE NUMBER ONE ในโปรแกรมสำเร็จรูป ผ่านเครือข่าย Internet Online สะดวก ง่ายต่อการสืบค้นหาข้อมูล ทำให้สามารถปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
· จัดทำ Web Site เพื่อการประชาสัมพันธ์และติดต่อสื่อสารของสมาชิกตลอดจนรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลไว้ที่จังหวัด โดยจัดทำ Program จัดเก็บข้อมูลสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE
๒) สร้างกระแส TO BE NUMBER ONE ด้วยการ
· ประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ กระจายเสียง เคเบิลทีวี  ป้ายข้อความวิ่ง
· จัดทำ Spot โครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัด
· จัดทำ Spot เชิญชวนสมัครสมาชิกและชักชวนผู้เสพให้เข้ารับการบำบัด
· จัดทำคัทเอาท์ไวนิล TO BE NUMBER ONEหน้าศาลากลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และบริเวณสี่แยกไร่ยาสูบ
· แจกจ่ายสปอตวิทยุ สำหรับสถานีวิทยุหลัก ๕ แห่งและวิทยุชุมชน ๔๐ แห่ง และ    หอกระจายข่าวสารประจำหมู่บ้าน/เสียงตามสายของทุกอำเภอ/ตำบล/เทศบาล
· จัดทำ CD เพลง TO BE NUMBER ONE ทั้งที่เป็นเนื้อร้อง/ทำนองของส่วนกลาง และในส่วนที่จังหวัดจัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเอง แจกจ่ายให้สถานีวิทยุหลัก ๕ แห่งและวิทยุชุมชน ๔๐ แห่ง รวมถึงหอกระจายข่าว/เสียงตามสายของทุกอำเภอ/ตำบล/เทศบาล รวม ๒๕๐ แห่ง
· จัดทำและแจกจ่ายสติกเกอร์ TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๐,๐๐๐ แผ่น
· จัดทำและแจกจ่ายแผ่นพับจังหวัดเพชรบูรณ์  TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๐,๐๐๐ แผ่น
๓) ผลการขยายจำนวนชมรมและสมาชิกชมรม  TO BE NUMBER ONE 
จังหวัดเพชรบูรณ์มีจำนวนประชากรทั้งหมด ๙๙๖,๓๒๑ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๗๕๙,๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๑ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ จำนวน ๔๙๒,๙๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๔๘ และกำลังรับสมัครอยู่อย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐๒๔ ปี ทั้งหมด จำนวน๒๔๐,๗๗๖ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๓๔,๖๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๔ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ จำนวน ๓๐,๕๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๑
(๓) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน
จังหวัดเพชรบูรณ์ได้คัดเลือกตัวแทนสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE  จากนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาเป็น แกนนำ TO BE NUMBER ONE”  โดยส่งเข้าอบรม TO BE NUMBER ONE CAMP  จำนวน ๕๔ คน ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นต้นแบบ ๒ แห่ง ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ๑ แห่ง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ ๑ แห่ง และขยายเครือข่ายศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษาเพิ่มอีกจนครบทุกอำเภอและทุกตำบล  ปัจจุบันมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษา ๒๑๓ แห่ง สถานประกอบการจำนวน  ๑๑ แห่ง ชุมชนจำนวน ๑๑๗  แห่ง รวม  ๓๔๑  แห่ง  เพิ่มขึ้นจาก ปี ๒๕๕๒  ร้อยละ ๕๘
(๔)  ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาทักษะชีวิตและการสร้างและพัฒนาเครือข่าย       TO BE NUMBER ONE
๑)  มีสมาชิกใครติดยายกมือขึ้น  ได้รับการบำบัดครบตามเกณฑ์ ปี  ๒๕๕๐  ร้อยละ ๙๘.๒๘    ปี ๒๕๕๑  ร้อยละ ๙๗.๔๖   ปี  ๒๕๕๒ ร้อยละ ๙๘.๒๕  เป็นผู้บำบัดรายใหม่  ร้อยละ  ๘๖  ในจำนวนนี้กลับไปศึกษาต่อและทำงานในอาชีพเดิม ร้อยละ ๙๐.๐    
๒)  การสร้างเครือข่าย  ในค่ายทหาร จำนวน ๓  แห่ง โรงเรียนพระปริยัติธรรม  ๓ แห่ง  ในเรือนจำ    แห่ง หมู่บ้านชุมชนชาวเขาอำเภอเขาค้อ จำนวน ๒ แห่ง และอำเภอหล่มเก่า จำนวน ๒  แห่ง  โรงเรียนโสตศึกษา จำนวน ๑  แห่ง  และสถานประกอบการเพิ่มขึ้น จำนวน ๕  แห่ง รวม ๓๔   แห่ง
(๕)  นวัตกรรมเด่น
๑)      การจัดพิธีลงนามข้อตกลง หรือ MOU ดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE
๒)      โปรแกรมบันทึกข้อมูลชมรม TO BE NUMBER ONE จังหวัดเพชรบูรณ์
๓)      INTERNET ONLINE WEBSITE TO BE NUMBER ONE จังหวัดเพชรบูรณ์ 
๔)      พัฒนาชมรม TO BE NUMBER ONE ในเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์
๕)      การประกวดศูนย์ประสานงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ระดับอำเภอ
๖)      การขยายเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE ในค่ายทหารจังหวัดเพชรบูรณ์
๗)      การส่งเสริมและขยายการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนไทยภูเขา
๘)      โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์  พัฒนา  ทักษะงานอาชีพในศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นต้นแบบ
๙)      พัฒนาชมรมและเครือข่ายแกนนำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นโรงเรียนพระปริยัติธรรม
(๖) ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตัวชี้วัด TO BE NUMBER ONE จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี ๒๕๕๓
๑) สถานศึกษา
· โรงเรียนทุกสังกัด มีชมรม TO BE NUMBER ONE ครบทั้ง ๖๓๕ แห่ง
· โรงเรียนทุกสังกัด มีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ร้อยละ  ๓๐ เท่ากับ จำนวน ๑๙๑ แห่ง สามารถดำเนินการได้ ๒๑๓ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๔๖ เกินกว่าเป้าหมาย
· อำเภอมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นต้นแบบ จำนวนครบทั้ง ๑๑ อำเภอ ร้อยละ ๑๐๐
· โรงเรียนมีระบบป้องกันและเฝ้าระวังฯ จำนวนครบทั้ง ๖๓๕ แห่ง ร้อยละ ๑๐๐
๒)  สถานประกอบการ
· สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป จำนวน ๔๘ แห่ง มีชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๔ แห่ง ร้อยละ ๕๐ ดำเนินการได้ จำนวน ๓๙ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๒๕ มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
· สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป จำนวน ๔๘ แห่ง ผ่านเกณฑ์โรงงานสีขาวทุกแห่ง ร้อยละ ๑๐๐       
๓) ในชุมชน
· ชุมชนทุกแห่งมีชมรม TO BE NUMBER ONE จัดตั้งครบทั้งจำนวน ๑,๔๙๓ แห่ง  ร้อยละ ๑๐๐
· ตำบลมีชมรม TO BE NUMBER ONEมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น จำนวนตำบลละ ๑ แห่ง ได้ดำเนินการจัดตั้งไว้จนครบถ้วน ทั้งในระดับตำบล จำนวน ๑๑๗ แห่ง และระดับอำเภอ จำนวน ๑๑ แห่ง
· ชุมชน/หมู่บ้าน ปลอดยาเสพติด ปัจจุบันมีจำนวน เท่ากับ ๑,๒๙๐ แห่ง คิดเป็น    ร้อยละ ๘๐.๙๘ มากกว่าจำนวนเป้าหมาย ร้อยละ ๗๐ ของชุมชน/หมู่บ้านทั้งหมดที่เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด จำนวน  ๑,๑๑๕ แห่ง
· ประชาชนทุกกลุ่มอายุ จำนวน  ๙๙๖,๒๓๑ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๗๕๙,๒๐๑ คน คิดเป็น ร้อยละ ๗๖.๒๑ เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ ๗๕ ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้น  ร้อยละ ๕๓.๔๙
· เยาวชนอายุ ๑๐-๒๔ ปี จำนวน ๒๔๐,๗๗๖ คน เป้าหมายเป็นสมาชิก                TO BE NUMBER ONE ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ซึ่งเท่ากับจำนวน ๒๑๖,๖๙๘ คน ผลการดำเนินงานเป็นสมาชิก จำนวน ๒๓๔,๖๒๐ คน  ร้อยละ ๙๗.๔๔ เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
(๔)  ผลการประกวดชมรม/จังหวัด ในระดับประเทศ
จากผลการดำเนินงานจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รางวัลชนะเลิศในการประกวดจังหวัด TO BE NUMBER ONE ระดับภาคเหนือ และได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดจังหวัด TO BE NUMBER ONE  ระดับประเทศ ในงานมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี
ในปี ๒๕๕๔ ได้เข้าร่วมประกวดและ ได้รางวัลชนะเลิศในการประกวดจังหวัด TO BE NUMBER ONE ระดับภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำส่งเข้าประกวดในระดับประเทศในมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE ปี ๒๕๕๔ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี ต่อไป
๓.  งานส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ
๓.๑  การจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ
ดำเนินสำรวจ ประสานเทศบาล/อบต. เพื่อขอข้อมูลคนพิการที่รับเบี้ยความพิการ และขึ้นทะเบียน  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินความสามารถของคนพิการ เพื่อนำมาวางแผนให้การดูแลเยี่ยมบ้านและให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
๓.๒  ให้สวัสดิการด้านสังคมและด้านการแพทย์ของคนพิการ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยี่ยมบ้านคนพิการทุกคน  โดยบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านคนพิการในแฟ้มครอบครัว ได้รับการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน และได้รับสิทธิในการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการ ตามสิทธิ (ท.๗๔) จำนวน ๑๑,๕๕๓ คน จากจำนวนทั้งหมด ๑๔,๒๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๑๘